เส้นรอบวงโลกเเละดาวเทียมโคจรรอบโลก

เส้นรอบวงโลก D,R





โลกมีอายุประมาณ 4,700 ล้านปี
โลกเป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวที่ไม่ได้ถูกตั้งชื่อตามเทพนิยายกรีกและโรมัน (สังเกตว่าดาวเคราะห์ดวงอื่นจะถูกตั้งชื่อเป็นชื่อเทพเจ้าหมด เช่น เทพยูเรนัส เทพเนปจูน  เป็นต้น) คำว่า "Earth" มาจากภาษาอังกฤษและเยอรมันโบราณ และยังมีชื่อเรียกอย่างอื่นอีกหลายร้อยชื่อ ตามภาษาต่างๆ

เส้นรอบวงที่เส้นศูนย์สูตรยาว 40,077 กิโลเมตร (24,903 ไมล์)และที่ขั้วโลกยาว 40,009 กิโลเมตร (24,861 ไมล์)
วัดแนวตั้งกับแนวนอนจะต่างกันเล็กน้อยจนสังเกตไม่ได้ไม่กี่สิบกิโลเมตร ดังนั้นแม้ว่าตามข้อมูลแล้วโลกไม่ได้กลมแบบเป๊ะร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่เมื่อดูจากรูปร่างแล้ว มันกลม กลมมากๆด้วย เพราะค่าความผิดเพี้ยนของรูปร่างน้อยมาก

ดังนั้นรูปร่างของโลกจึง กลม ไม่ใช่กลมแบนหรือกลมป้าน แต่ประการใด

มวล 5.98 x (10 ยกกำลัง 24 ) กิโลกรัม

ความหนาแน่นเฉลี่ย 5,520 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร
คาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 365.26 วัน
หมุนรอบตัวเอง ใช้เวลา 23 ชั่วโมง 56 นาที 4.09 วินาที 
(ไม่ครบ 24 ชั่วโมงเป้ะ !!)
ระยะห่างจากดวงอาทิตย์เฉลี่ย 150 ล้านกิโลเมตร
ความเอียงของแกนโลกจากแนวตั้งฉาก 23.5 องศา
ความเร็วเฉลี่ยในการเคลื่อนที่ 29.78 กิโลเมตร/วินาที
อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ย 15 องศา
ทำไมประเทศไทยร้อนอย่างนี้ฟะ!
องค์ประกอบของบรรยากาศ
ไนโตรเจน 77% ออกซิเจน 21%
คาร์บอนไดออกไซด์ อาร์กอน ไอน้ำ และอื่นๆ 2%

ดาวเทียมโคจรรอบโลก

วงโคจรระยะต่ำ (Low Earth Orbit "LEO") อยู่สูงจากพื้นโลกไม่เกิน 1,000 กม. เหมาะสำหรับการถ่ายภาพรายละเอียดสูง ติดตามสังเกตการณ์อย่างใกล้ชิด  แต่เนื่องจากวงโคจรประเภทนี้อยู่ใกล้พื้นผิวโลกมาก ภาพถ่ายที่ได้จึงครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณแคบ และไม่สามารถครอบคลุมบริเวณใดบริเวณหนึ่งได้นาน เนื่องจากดาวเทียมต้องเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงมาก  ดาวเทียมวงโคจรต่ำจึงนิยมใช้วงโคจรขั้วโลก (Polar  Orbit) หรือใกล้ขั้วโลก (Near Polar Orbit)  ดาวเทียมจะโคจรในแนวเหนือ-ใต้ ขณะที่โลกหมุนรอบตัวเอง ดาวเทียมจึงเคลื่อนที่ผ่านเกือบทุกส่วนของพื้นผิวโลก ดังที่แสดงในภาพที่ 2









วงโคจรระยะปานกลาง (Medium Earth Orbit "MEO") อยู่ที่ระยะความสูงตั้งแต่ 1,000 กิโลเมตร จนถึง 35,000 กิโลเมตร  สามารถถ่ายภาพและส่งสัญญาณวิทยุได้ครอบคลุมพื้นที่ได้เป็นบริเวณกว้างกว่าดาวเทียมวงโคจรต่ำ  แต่หากต้องการสัญญาณให้ครอบคลุมทั้งโลกจะต้องใช้ดาวเทียมหลายดวงทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายและมีทิศทางของวงโคจรรอบโลกทำมุมเฉียงหลายๆ ทิศทาง  ดาวเทียมที่มีวงโคจรระยะปานกลางส่วนมากเป็นดาวเทียมนำร่อง เช่น เครือข่ายดาวเทียม GPS ประกอบด้วยดาวเทียมจำนวน 24 ดวง  ทำงานร่วมกันดังภาพที่ 3 โดยส่งสัญญาณวิทยุออกมาพร้อมๆ กัน ให้เครื่องรับที่อยู่บนพื้นผิวโลกเปรียบเทียบสัญญาณจากดาวเทียมแต่ละดวง เพื่อคำนวณหาตำแหน่งพิกัดที่ตั้งของเครื่องรับ






วงโคจรประจำที่ (Geostationary Earth Orbit "GEO") อยู่สูงจากพื้นโลกประมาณ 35,786 กม. มีเส้นทางโคจรอยู่ในแนวเส้นศูนย์สูตร (Equatorial Orbit) ดาวเทียมจะหมุนรอบโลกด้วยความเร็วเชิงมุมเท่ากับโลกหมุนรอบตัวเองทำให้ดูเหมือนลอยนิ่งอยู่เหนือพื้นผิวโลกตำแหน่งเดิมอยู่ตลอดเวลา จึงถูกเรียกว่า "ดาวเทียมวงโคจรสถิต หรือ วงโคจรค้างฟ้า"  เนื่องจากดาวเทียมวงโคจรชนิดนี้อยู่ห่างไกลจากโลกและสามารถลอยอยู่เหนือพื้นโลกตลอดเวลา จึงนิยมใช้สำหรับการถ่ายภาพโลกทั้งดวง เฝ้าสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงของบรรยากาศ  และใช้ในการโทรคมนาคมข้ามทวีป  อย่างไรก็ตามดาวเทียมวงโคจรค้างฟ้าจะต้องลอยอยู่ที่ระดับสูง 35,786 กิโลเมตรเท่านั้น  วงโคจรแบบนี้จึงมีดาวเทียมอยู่หนาแน่น และกำลังจะมีปัญหาการแย่งพื้่นที่ในอวกาศ









วงโคจรูปวงรี (Highly Elliptical Orbit "HEO") เป็นวงโคจรออกแบบสำหรับดาวเทียมที่ปฏิบัติภารกิจพิเศษเฉพาะกิจ  เนื่องจากดาวเทียมความเร็วในวงโคจรไม่คงที่  เมื่ออยู่ใกล้โลกดาวเทียมจะเคลื่อนที่ใกล้โลกมาก และเคลื่อนที่ช้าลงเมื่อออกห่างจากโลกตามกฎข้อที่ 2 ของเคปเลอร์  ดาวเทียมวงโคจรรูปวงรี ส่วนมากเป็นดาวเทียมที่ปฏิบัติงานด้านวิทยาศาสตร์ เช่น ศึกษาสนามแม่เหล็กโลก เนื่องจากสามารถมีระยะห่างจากโลกได้หลายระยะดังภาพที่ 5  หรือเป็นดาวเทียมจารกรรมซึ่งสามารถบินโฉบเข้ามาถ่ายภาพพื้นผิวโลกด้วยระยะต่ำมากและปรับวงโคจรได้  







ที่มา http://www.lesa.biz/space-technology/satellite/orbits
        http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php
        http://www.islammore.com/view/2101


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สายโคแอกเชียล (coaxial cable)

ระบบเสียงในอาคาร,ห้างสัพสินค้า