LNB
LNB |
Feed Horn
ทำหน้าที่รวมสัญญาณที่ได้จากการสะท้อน จากจานรับสัญญาณดาวเทียม เพื่อรวมสัญญาณป้อนให้กับตัว LNB โดยส่งเข้าท่อ นำสัญญาณ หรือกระบอกนำสัญญาณที่เรียกว่าท่อ Waveguide
ทำหน้าที่ขยายสัญญาณ ด้วยวงจร LNA ( Low Noise Amplifier ) ขยายสัญญาณในช่วงความถี่สูง RF AMP เป็นการขยายแบบ การรบกวนต่ำ เพื่อให้ได้สัญญาณจริงที่ส่งมาจากดาวเทียมและส่งต่อเข้าไปที่วงจรเปลี่ยนความถี่ให้ต่ำลง ปรับสัญญาณเป็นแบบ สัญญาณ IF ส่งออกต่อไปที่ขั้ว OUTPUT ของตัว LNB เพื่อส่งเข้าเครื่องรับดาวเทียมต่อไป
อุปกรณ์ขยายสัญญาณที่มีสัญญาณรบกวนต่ำ
เมื่อสัญญาณที่รวมจากจานดาวเทียมแล้ว จะถูกส่งต่อเข้าไปยังอุปกรณ์ขยายสัญญาณที่มีการรบกวนของสัญญาณต่ำ LNB ( Low Noise Block downconverter ) จะมีขั้วโลหะชิ้นเล็กๆ ความยาวประมาณ 1 นิ้ว อยู่ 2 ขั้วซึ่งในส่วนนี้จริงๆแล้วคือขั้วสายอากาศที่ทำหน้าที่รับสัญญาณจากดาวเทียม ในแนวตั้ง 1 อันและแนวนอนอีก 1 อัน เมื่อรับสัญญาณได้แล้วจะส่งต่อไปยังวงจรอิเล็คทรอนิกส์ที่ทำหน้าที่ขยายสัญญาณที่มีการควบควบสัญญาณรบกวนให้ต่ำที่สุด ถ้าเปรียบเทียบเมื่อสมัยก่อนจะต้องใช้จานขนาดใหญ่มากเพื่อให้เกิดความต่างของสัญญาณรบกวนและสัญญาณจริงที่รับจากดาวเทียม ก่อนที่จะทำการขยายสัญญาณในวงจร Low Noise Amplifier เพื่อให้ได้สัญญาณจริงจากดาวเทียมให้มากที่สุด
Noise Temperature ของ LNB จะบอกเป็นค่าองศาเควิน ( Degree Kelvins : K ) ซึ่งถ้าหากว่าค่า Noise Temperature ยิ่งมีค่าต่ำเท่าไร สัญญาณรบกวนที่เกิดขึ้นใน LNB ก็จะน้อยลงไปด้วย โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในย่าน 20-40 องศาเควิน ปัจจุบันเทคโนโลยี่ก็ทันสมัยมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้การผลิต ทำได้ง่ายขึ้นกว่าเดิมมาก
LNB สำหรับระบบ Ku-Band LNB ที่ใช้ในย่านความถี่ Ku-Band จะแสดงอัตราการเกิดของสัญญาณรบกวนอยู่ในรูปของ Noise Figure ซึ่งมีหน่วยเป็น dB แทนค่า Noise Temperature ซึ่งเป็นหน่วยวัดสัญญาณของ LNB สำหรับย่าน C-band
ขั้วคลื่นแบบแนวตั้งและแนวนอน
สัญญาณที่ส่งจากดาวเทียมจะมีการส่งขั้วคลื่นแบบแนวตั้ง Vertical และแนวนอน Horizontal เพื่อทำให้การส่งสัญญาณที่มีความถี่เหมือนกัน สามารถที่จะทำการส่งได้ในพร้อมกัน 2 แนว โดยไม่เกิดการรบกวนระหว่างกัน เนื่องจากความถี่ที่มีใช้ในระบบการรับส่งสัญญาณดาวเทียมมีใช้อย่างอย่างจำกัด เมื่อติดตั้ง LNB แบบนี้จำเป็นต้องหมุนขั้วคลื่นให้รับสัญญาณได้ตรงตามแนวการส่งด้วย จึงจะทำให้รับสัญญาณได้ดีที่สุด ปัจจุบัน LNB ในแบบรุ่นนี้เป็นที่นิยมใช้มากที่สุด
ขั้วคลื่นแบบวงกลม
การส่งคลื่นสัญญาณจากดาวเทียมเป็นแบบวงกลม หรือที่เรียกว่า Circular Polarization ดังนั้นหากว่าเราต้องการรับสัญญาณที่ส่งแบบขั้วคลื่นแบบนี้ ให้ได้ประสิทธิภาพสูงที่สุดแล้ว เราจะต้องใช้ LNB ที่มีฟีดฮอนที่มีโครงสร้างของโพรบเป็นแบบ Circular ด้วยเช่นกัน โพรบจะมีลักษณะเป็นวงกลม ( Helical ) และมีลักษณะของรูปคลื่น ( Pattern ) หมุนเป็นเกลียว และยังแบ่งออกได้เป็น 2 แบบคือ แบบที่มีคลื่นหมุนทางขวา ( Right Hand Circular Polarization ) และแบบคลื่นที่หมุนทางซ้าย ( Left Hand Circular Polarization ) ส่วนแบบลิเนีย ( Linear Polarization ) แบ่งออกเป็น Horizontal Polarization และ Vertical Polarization ถึงแม้ว่าฟีดฮอนแบบลิเนีย ซึ่งเป็นแบบมาตรฐานจะสามารถรับสัญญารได้ก็ตาม แต่ตรึ่งหนึ่งของสัญญาณก็จะเกิดการสูญเสียไป ฉนั้นหากต้องการสัญญาณที่มีความสมบูรณ์ควรเลือกใช้ให้ถูกต้องด้วยจึงจะรับสัญญาณได้ดี
อุปกรณ์การปรับขั้วคลื่นของดาวเทียม
LNB รุ่นเก่าจะมีขั้วการรับสัญญาณจากดาวเทียมเพียงขั้วเดียว หากว่าต้องการรับสัญญาณจาก 2 ขั้ว จะต้องมีระบบหมุนขั้วคลื่น ซึ่งระบบหมุนขั้วคลื่นนี้จะมีชื่อเรียกว่า ระบบ เซอร์โวโพราไรท์ ปัจจุบันระบบนี้ เริ่มเลิกใช้แล้ว เพราะการเปลี่ยนขั้วการรับจะทำได้ช้าเพราะต้องรอให้มอเตอร์หมุนไปหาตำเหน่งขั้วคลื่น ปัจจุบัน LNB ได้ผลิตแบบมี 2 ขั้วคลื่นในตัวเดียวกันเลยและใช้ระบบการตัดต่อสัญญาณแบบอิเล็คทรอนิกส์ทำให้การตัดต่อสัญญาณทำได้เร็วโดยไม่ต้องรอ
การรับสัญญาณจาก 2 ขั้วคลื่นของ LNB
แบบที่ 1 แบบปรับรับด้วยมอเตอร์ ระบบ เซอร์โวโพราไรท์ จะทำการหมุนปรับไปรับครั้งละ 1 ขั้วคลื่น
แบบที่ 2 แบบปรับด้วยระบบอิเล็คทรอนิกส์ จะใช้ความต่างของไฟเป็นระบบตัดต่อ โดยให้ไฟที่ 13-14 Volt
เลือกไปที่ Vertical และ 17-18 Volt เลือกไปที่ Horizontal แบบนี้จะเลือกขั้วได้เร็ว
แบบที่ 3 แบบนี้จะใช้วิธีการบวกความถี่ที่อีก 1 ขั้วให้ต่างจากความถี่เดิม ทำให้สัญญาณ
วิ่งไปในสายพร้อมกัน 2 ขั้วคลื่นได้ แบบนี้เหมาะสำหรับจานดาวเทียมที่ใช้กับเครื่องรับหลายๆตัว
แบบที่ 4 แบบแยกขั้วคลื่นอิสระ โดยจะมีขั้วคลื่นออกมาทั้ง 2 ขั้วคลื่นเลย เมื่อนำไปใช้ต้องใช้ระบบ
สวิทตัดต่อขั้วคลื่นแบบข้างนอกเพิ่มเหมาะสำหรับ จานดาวเทียมที่ต้องการใช้เครื่องรับหลายๆตัว
แบบที่ 5 แบบที่มี 2ขั้วต่อ ออกมาจาก LNB โดยตรง แบบนี้เท่ากับว่ามีตัว LNB เหมือนแบบที่ 2 ถึง 2 ตัว
อยูในตัวเดียวกัน เหมาะสำหรับใช้กับเครื่องรับตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป
แบบที่ 1 แบบปรับรับด้วยมอเตอร์ ระบบ เซอร์โวโพราไรท์ จะทำการหมุนปรับไปรับครั้งละ 1 ขั้วคลื่น
แบบที่ 2 แบบปรับด้วยระบบอิเล็คทรอนิกส์ จะใช้ความต่างของไฟเป็นระบบตัดต่อ โดยให้ไฟที่ 13-14 Volt
เลือกไปที่ Vertical และ 17-18 Volt เลือกไปที่ Horizontal แบบนี้จะเลือกขั้วได้เร็ว
แบบที่ 3 แบบนี้จะใช้วิธีการบวกความถี่ที่อีก 1 ขั้วให้ต่างจากความถี่เดิม ทำให้สัญญาณ
วิ่งไปในสายพร้อมกัน 2 ขั้วคลื่นได้ แบบนี้เหมาะสำหรับจานดาวเทียมที่ใช้กับเครื่องรับหลายๆตัว
แบบที่ 4 แบบแยกขั้วคลื่นอิสระ โดยจะมีขั้วคลื่นออกมาทั้ง 2 ขั้วคลื่นเลย เมื่อนำไปใช้ต้องใช้ระบบ
สวิทตัดต่อขั้วคลื่นแบบข้างนอกเพิ่มเหมาะสำหรับ จานดาวเทียมที่ต้องการใช้เครื่องรับหลายๆตัว
แบบที่ 5 แบบที่มี 2ขั้วต่อ ออกมาจาก LNB โดยตรง แบบนี้เท่ากับว่ามีตัว LNB เหมือนแบบที่ 2 ถึง 2 ตัว
อยูในตัวเดียวกัน เหมาะสำหรับใช้กับเครื่องรับตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป
ที่มา http://www.nics-sat.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=150811
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น